2011年6月24日星期五



ผู้แต่ง:  พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

 ประวัติผู้แต่ง: พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นพระราช โอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และนาง เสือง ทรงมีพระเชษฐา พ่อขุนบานเมือง เมื่อตอนที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระชนมายุได้ ๑๙พรรษาได้ทรงแสดงให้เห็นถึงความ กล้าหาญในการศึกสงคราม ด้วยการทรงชนช้าง ชนะขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สมเด็จพระราชบิดาจึงทรงพระราชทานพระนามให้ ว่า พระรามคำแหง ครั้นพอสมเด็จพระราชบิดา และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชสิ้นพระชนม์แล้ว พ่อขุนรามคำแหงฯก็ได้เด็จขึ้นเสวยราชย์ในเมือง สุโขทัยต่อมาได้ทรงขยายอาณาเขตไปอย่างกว้างขวางและปกครองบ้านเมืองอย่างร่มเย็นเป็นสุขตลอดรัชกาล
เนื้อหา : ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มี ๓ ตอน คือ 
ตอนที่๑ นับตั้งแต่ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑ ถึง ๑๘ เป็นพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ ทรงใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ แทนพระองค์ว่า กู เนื้อหาระบุพระนามของสมเด็จพระราชบิดา สมเด็จพระราชมารดา สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระเกียรติประวัติในการรบกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด จนถึงสมเด็จพระราชบิดาเสด็จสวรรคตแล้วก็ทรงปฏิบัติ บำรุงสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชด้วยความจงรักภักดีพ่อสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชสมเด็จสวรรคตพระองค์จึงทรงขึ้นรองราชย์สมบัติต่อมา 
ตอนที่ ๒ นับตั้งแต่ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘ ถึงด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๐ (สันนิษฐานกันว่าผู้แต่งฯ เป็นละคนกับ ตอนที่ ๑) เนื้อหาพรรณนาถึงเหตุการณ์บ้านเมืองและความเจริญรุ่งเรื่องในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่มีการค้าขายอย่างเสรีมีกฎมายมรดก มีระเบียบในการฟ้องร้องคดีศาล การร้องทุกข์ต่อพระเจ้าแผ่นดินโดยตรง การจัดสาธารณูปโภคสภาพภูมิศาสตร์ ของเมืองสุโขทัยและวิถีของคนไทยที่นิยมทำบุญถือศีลเพราะมีศรัทธามั่นในพระพุทธศนา

ตอนที่ ๓ นับตั้งแต่ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๐ ถึงด้านที่ ๔ บรรทัด สุดท้ายเนื้อความกล่าวถึงพระรากรณีกิจของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอาทิปีพ.ศ. ๑๘๓๕ ทรงโปรดใช้ช่างสกัดหินสร้างเป็นพระแท่นมนังคศิลาบาตรขึ้นไว้ที่กลางดงดาลไว้ให้ พระสงฆ์แสดงธรรมในวัดธรรมสวนะแก่ประชาชนส่วนวันธรรมพระองค์ทรงใช้เป็นบัลลังก์ประทับว่าราชการปี พ.ศ. ๑๘๒๖ กล่าวถึงพ่อขุนรามคำแหมหาราชได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยตามแบบที่ใช้จารึกบนหลักศิลานี้ รวมทั้งสรรเสริญพระเกียรติคุณพ่อขุนรามฯอีกมากมายปัจจุบันนี้หลักศิลาจารึกตัวจริงประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งศิวโมกขพิมมานในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพมหานคร
       เป็นร้อยแก้วเชิงบรรยายโวหาร สำหรับตอนที่นำมาเป็นบทเรียน เป็นด้านที่๑(เฉพาะบรรทัดที่๑ถึง๑๘)ซึ่งเนื้อหาจะกล่าวถึงชีวประวัติของพ่อขุนรามฯอีกมากมายปัจจุบันนี้หลักศิลาจารึกตัวจริงประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ในพิพิธพันธสถานแห่งชาติกรุงเทพมหานคร 
ลักษณะคำประพันธ์ :  เป็นร้อยแก้วเชิงบรรยายโวหาร สำหรับตอนที่นำมาเป็นบทเรียนนี้ เป็นด้านที่๑(เฉพาะบรรทัดที่๑ ถึง ๑๘ ) ซึ่งเนื้อหาจะกล่าวถึง อัตชีวประวัติของพ่อขุนรามฯ โดยพระองค์ทรงใช้ สรรพนามบุรุษที่๑กู และ ตู ” (เล่าพระประวัติโดยพระองค์เอง)ใช้คำไทยแท้เป็นส่วนใหญ่ ประโยคที่ใช้ก็สั้น ไม่ซับซ้อนในบางตอนอาจมีเสียงสัมผัส และมีการกล่าวซ้ำย้ำความให้กระจ่างชัด 
เนื้อเรื่องย่อ :  (เฉพาะด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑ถึง ๑๘) 
เป็นพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (ที่ทรงเล่าเอง) ความว่า 
      พ่อกูชื่อศรีอินทราทิย์ แม่กูชื่อนาง เสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูมีพี่น้องท้องเดียวห้าคอน ผู้ชาย ๓ หญิงโสง พี่เผือผู้อายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก เมื่อกุขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปขุนสามชน หัวซ้ายขุนสามชนขับมา หัวขวาขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกูหนีญญ่าพายจแจ้น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเขาก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกูชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชนเมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวานอันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปทีบ้านเมืองได้ช้างได้งวงได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กูดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตายจึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม... 
ข้อคิดที่ได้รับจากเรื่อง
  • ลูกที่ดีต้องมีความกตัญญูต่อบุพการีด้วยการปฏิบัติดูแลบำรุงเลี้ยงอย่างดี 
  • พี่น้องกันควรมีความรักและการปกครองดองกันไว้ โดยเฉพาะน้องต้องให้ความเคารพพี่ 
  • ผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ต้องมีความกล้าหาญกล้าตัดสินใจ 
  • การป้องกันบ้านเมือง เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองหรือผู้นำ หากผู้นำเข้มแข็งและกล้าหาญบ้านเมืองก็อยู่รอดปลอดภัยและไพร่ฟ้าก็มีความ

ที่มา  http://www.chanpradit.ac.th/ 

ปราสาทนคร ธม





นครธม
ปีที่สร้าง : สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18
รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
ศาสนา : ศาสนาพุทธนิกายมหายาน
• นครธมมีความหมายว่าเมืองใหญ่ (ธม แปลว่า ใหญ่) เมืองพระนครหลวงมีพระราชวังและปราสาทต่างๆมากมาย และเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรขอมมั่งคั่งและรุ่งโรจน์เป็นที่สุด ไม่ว่าใครก็ตามที่เดินทางมาเยี่ยมชมเมืองพระนครหลวง และนับตั้งแต่ก้าวแรกที่จะต้องเดินทางผ่านช่องประตูเข้ามา้ ต้องตื่นตะลึงกับความโอฬารของหินทรายที่สลักเป็นรูปพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ด้วยสายตาที่ทอดลงมายังที่ต่ำ และรอยยิ้มที่เป็นสุขหรือยิ้มแบบบายนที่เปี่ยมด้วยความเมตตา ทำให้ผู้พบเห็นมิอาจจะละสายตาไปได้ง่าย
• ส่วนด้านข้างของกรอบประตูก็จะพบกับประติมากรรมลอยตัวพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ 3 เศียร คอยต้อนรับอาคันตุกะจากแดนไกลอีกเช่นกัน
• สองข้างทางของสะพานที่ทอดข้ามคูเมืองด้านซ้ายเป็นศิลาทรายสลักลอยตัวของเหล่าเทวดาฉุดตัวนาค ส่วนด้านวาเป็นบรรดายักษ์กำลังฉุดดึงลำตัวพญานาคอยู่เช่นกัน ทั้งภาพสลักเทวดา นาค และยักษ์ นิยมนำมาให้กันมากในศิลปะยุคบายนนี้
• เมืองพระนครหลวง นับได้ว่าเป็นราชธานีแห่งใหม่ที่ย้ายมาจากนครยโศธรปุระที่มีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 อันเป็นพระราชดำริของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ประสงค์จะขยายอาณาจักรขอมให้ยิ่งใหญ่ขึ้น เมืองพระนครหลวงมีคูเมืองล้อมรอบกว้างประมาณ 80 เมตร แต่ละด้านมีความยาวถึง 3 กิโลเมตรและมีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ด้านด้วยกัน มีพื้นที่มากถึง 9 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,625 ไร่ กำแพงแต่ละด้านก่อด้วยศิลาแลงสูง 7 เมตร
• ประตูด้นทิศใต้ของเมืองพระนครหลวงจัดได้ยังมีความสมบูรณ์ของรูปประติมากรรมลอยตัวของเทวดาและยักษ์ยื้อยุดฉุดนาคเพื่อกวนเกษียรสมุทร อันเป็นตอนเริ่มจากนิยานปรัมปราที่พวกพราหมณ์เล่าถึงตอนกำเนิดโลกมนุษย์และจักรวาล
ปราสาทบายน
• ปราสาทบายนสร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18 รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะแบบบายน ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ปราสาทบายนเป็นปราสาทหลวงประจำรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และเป็นการปฏิวัติรูปแบบของการสร้างปราสาทที่มีภาพลักษณ์ต่างจากการสร้างรูปแบบเดิมๆ โดยสิ้นเชิง เป็นเพราะพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งต่างจากกษัตริย์หลายพระองค์ที่ล้วนแล้วแต่นับถือศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์ที่สืบทอดมากกว่า 415 ปี
• ปราสาทบายนถูกสร้างโดยการนำหินมาวางซ้อนๆ กันขึ้นเป็นรูปร่าง แม้จะเป็นปราสาทไม่ใหญ่โตเท่านครวัด แต่มีความแปลกและดูลี้ลับทั้งปราสาทมีแต่ใบหน้าคน หากขึ้นไปยืนอยู่ภายในปราสาทนี้ไม่ว่ามุมไหนก็หาได้รอดหลุดพ้นจากสายตาเหล่านี้ได้เลย
• นักเดินทางรุ่นเก่าที่เดินทางมายังปราสาทบายนรุ่นแรกๆ เช่น นายปิแอร์ โลตี ได้บันทึกไว้ว่า “ข้าพเจ้าแหงานหน้าขึ้นไปยังปราสาทที่มีต้นไม้ปกคลุม ซึ่งทำให้ตัวเองรู้สึกเหมือนคนแคระและทันทีทันใด เลือดในตัวข้าพเจ้าก็เกิดแข็งเย็นขึ้นมา เมื่อมองเห็นรอยยิ้มขนาดมหึมาที่กำลังมองลงมาแล้วก็รอยยิ้มอีกด้านหนึ่งเหนือกำแพงอีกด้านหนึ่งแล้วก็รอยยิ้มที่สารทแล้วก็รอยยิ้มที่ห้า แล้วก็ที่สิบ ปรากฏจากทั่วสารทิศข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนมีตาคอยจ้องมองอยู่ทุกทิศทาง”
ปรางค์ปราสาทบายน
• ปรางค์ปราสาทบายนทั้ง 54 ปรางค์ถูกสลักเป็นภาพพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผันพระพักตร์ออกไปทั้งสี่ทิศ เพื่อสอดส่องดูแลความทุกข์สุขของเหล่าพสกนิกรของพระองค์ให้อยู่เย็นเป็นสุข รอยยิ้มที่ระเรื่อนี้เรียกว่ายิ้มแบบบายนเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา ใบหน้าเหล่านั้นหากนับรวมกัน 54 ปรางค์ปราสาทปรางค์ปราสาทละ 4 หน้า จะมีรวมถึง 216 หน้า แต่ปัจจุบันได้สึกกร่อนพังทลายลงไปหลายหน้าแล้ว
• รอบๆ ปรางค์ประธานประกอบด้วยระเบียงคต 2 ชั้น รูปทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ชั้นนอกมีขนาดกว้าง 140 เมตร ยาว 160 เมตร ชั้นในมีขนาดกว้าง 70 เมตร ยาว 80 เมตร หน้าโคปุระทุกด้านมีภาพประติมากรรมลอยตัวรูปสิงห์ทั้งสองข้างของบันได ปรางค์ประธานมีลักษณะเป็นทรงกรวยมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 25 เมตร และสูง 43 เมตร เหนือจากระดับพื้น ตัวปราสาทโดยรอบแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ประกอบระเบียงคตด้านนอก ชั้นระเบียงคตด้านใน และบนสุดเป็นชั้นของปรางค์ประธาน และปรางค์บริวารที่ทุกปรางค์จะมีภาพพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผินพระพักตร์มองออกไปทั้งสี่ทิศ
ระเบียงคตชั้นนอก
• แต่เดิมมีหลังคาหินทรายมุงอยู่ แต่ธรรมชาติและป่าที่กลืนปราสาทนานนับร้อยปี รวมทั้งสงครามต่อเนื่องอีกหลายทศวรรษ ทำให้หลังคาส่วนใหญ่พังทลายลงหมด ปัจจุบันหลังคาหินเหล่านี้กองอยู่ในบริเวณปราสาทหลายกอง พบแต่เสาศิลาทรายที่ทั้งสี่ด้านของเสามรภาพสลักนูนต่ำของนางอัปสรากำลังร่ายรำ
ผนังด้านทิศตะวันออก
• ตลอดความยาว 35 เมตรและสูง 3 เมตร ถูกสลักเป็นภาพนูนต่ำ ในภาพเป็นขบวนทหารและแม่ทัพนายกองส่วนหนึ่งของขบวนทัพพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ภาพแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือภาพด้านบน กลางและด้านล่างง การจัดขบวนทัพใยสมัยนั้นเป็นรูปแบบขบวนทัพที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยกองกำลังสอดแนม ทัพหน้า ทัพหลวง กองสรรพวุธและกองเสบียง การแต่งกายของเหล่าทหารมีรูปแบบเป็นหมู่เป็นกองเห็นได้ชัด จากลักษณะของหมวก เสื้อ ผ้ายันต์ และผ้านุ่ง ตลอดจนอาวุธที่ใช้ก็แตกต่างกันตามลำดับและยศของทหาร ทัพหน้ามีกองกำลังทหารจากประเทศราช บางเหล่าแต่งกายคล้ายทหารจีน ทัพหลวงมีกระบวนม้าและกระบวนช้าง มีพัดโบก และอาวุธครบ สุดท้ายเป็นกองเสบียงมีโคเทียมเกวียนที่บรรทุกสัมภาระไปกันมากมาย มีคนจูงหมู แบกเต่าไปกับขบวนด้วย บางคนกำลังก่อไฟย่างปลา บางคนกำลังหุงข้าว ภาพสลักชุดนี้เล่าถึงชีวิตของทหารในกองทัพพร้อมกับวิถีชีวิตของชาวบ้านได้เป็นอย่างดี
ผนังด้านทิศใต้
• เป็นภาพสลักยุทธภูมิทางเรือของทัพขอมและทัพจาม การปะทะกันทางเรือของสองทัพอย่างนองเลือด ทหารทั้งฝ่ายขอมและจามล้มตายลงเป็นอันมาก บางคนก็ถูกจระเข้ในโตนเลสาบคาบไป ณ สมรภูมิแห่งนี้เล่าถึงตอนที่กำลังทัพของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สามารถเอาชนะทัพของพวกจามได้อย่าราบคาบ
ผนังด้านทิศเหนือ
• ภาพสลักเล่าเรื่องในรั้งในวังของเหล่าพระราชวงศ์ เช่น ตอนเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนประชาชน ภาพการประดับราชวังเพื่อต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ภาพการซ่อมแซมปราสาท ภาพการแสดงกายกรรม การละเล่น คนไต่ราว การแสดงมายากล มวยปล้ำ และพวกสัตว์ที่มากับคณะละครสัตว์ เป็นต้น
ผนังระเบียงคตชั้นใน
• ส่วนมากสลักภาพในพระราชพิธีต่างๆ เช่น ตอนประชุมเหล่าเสนนาบดี ภาพบางตอนเล่าถึงกฤษดาภินิหารต่างๆ ของพระเจ้าชยวรมันที่ 7 ก่อนขึ้นครองราขย์ ในขณะที่มหาปราสาทนครวัดมีภาพสลักในศาสนาฮินดูตาที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงนับถือ แต่ที่ปราสาทบายนภาพสลักในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของขอมโบราณเมื่อ 829 ปีก่อน หากจะเปรียบเทียบภาพสลักระหว่างสองปราสาทนี้แล้วจะพบว่า ที่ปราสาทบายนมีลักษณะเร่งรีบ และมีความงามด้อยกว่าที่นครวัดอยู่บ้าง และยังพบได้ว่ามีบางพื้นที่ซึ่งภาพสลักไม่เสร็จ เช่น บริเวณผนังทิศใต้ฝั่งตะวันตก เป็นเรื่องขบวนทัพของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่อย่างไรก็ตาม ปราสาทบายนนับเป็นปราสาทที่มีความแปลกที่สุดทั้งด้านศิลปะ และการก่อสร้าง สมควรที่จะเข้าไปเยี่ยมชมไม่แพ้การไปเยี่ยมชมที่ปราสาทนครวัดเช่นกัน

ปราสาทนครวัด

ปราสาทนครวัดเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่ฝรั่งต่างชาติต่างยอมรับในความสวยงาม          เราจะเห็นได้ว่า 5 ใน 7 ของสิ่งมหัศจรรย์ของโลกล้วนแต่อยู่ในประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา  จะมีก็แต่เพียงปราสาทนครวัดและทัชมาฮาลเท่านั้นที่อยู่นอกประเทศทั้งสอง
ปราสาทนครวัด เป็นประสาทศิลาแลงขนาดใหญ่โตมโหฬาร ที่ตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา จัดเป็นปราสาทศิลาขนาดใหญ่ที่ยังคงอยู่ ตระหง่านท้ากาลเวลานานหลายร้อยปี ผู้ที่สร้างนครวัดขึ้นมาเป็นพระองค์แรกคือพระเจ้าสุริยะวรมัน ที่ 2 โดยพระองค์มีพระประสงค์ที่จะยกพระฐานของกษัตริย์กัมพูชาให้เทียบเท่ากับเทพเจ้า ปราสาทนครวัดแห่งนี้จึงเป็นที่สถิตของพระวิษณุ เทพเจ้าสำคัญพระองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวกัมพูชา และพระองค์ทรงใช้สถานที่แห่งนี้ในการเผาพระบรมศพของพระองค์
ต่อมาในยุคหลังกษัตริย์กัมพูชาองค์ต่อๆมา ได้ช่วยกันสานต่อเจตนาของบรรพบุรุษ มีการแต่งเติมและสิ่งก่อสร้างไปในแนวทางตามที่บรรพกษัตริย์ ในอดีตได้วางเอาไว้ ทำให้ชาวโลกมีโอกาสได้รับทราบถึงความเฉลียวฉลาดและความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันของชาวกัมพูชา
ภายในบริเวณของตัวปราสาทจะรายล้อมไปด้วยอาคารต่างๆมากมาย มีถนนยาวหลายกิโลเมตร มีคูคลอง อ่างเก็บน้ำเอาไว้ใช้ภายในตัวอาคารและทางเดินเชื่อมจากอาคารหนึ่งไปยังอีกหลังหนึ่ง ความสามารถของชาวกัมพูชาใช่ว่าจะด้อยไปกว่าชาติอื่นๆในโลก เพราะมีการจัดสร้างคูคลองเชื่อมต่อกันหลายสายทำให้มองดูเหมือนตาข่ายขนาดใหญ่ครอบตัวเมืองเอาไว้  ทั้งนี้เพราะในอดีตชีวิตของประชาชนจะอาศัยการเพาะปลูกเป็นหลักในการดำรงชีวิต  น้ำจึงเป็นเสมือนปัจจัยหลักสำคัญที่ช่วย
ให้การเพาะปลูกและการดำเนินชีวิตเป็นไปด้วยดี
นอกจากความสามารถในการออกแบบตัวอาคารและการเชื่อมโยงคูคลองต่างๆเข้าหากันแล้วนั้น ตัวปราสาทนครวัดก็เป็นโบราณสถานที่แสดงให้เห็นถึงศิลปะการแกะสลักอันปราณีตของชาวกัมพูชาในอดีต บนศิลาจะเต็มไปด้วยภาพแกะสลักตามความเชื่อในอดีต ไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีวิตของเทวดาและอสูรหรือการประกอบพิธีกรรมต่างๆในอดีต
เมื่อลองย้อนกลับไปดูในอดีต จะพบว่าในยุคหลังต่อมา พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ได้สถาปนาเมืองแห่งนี้เป็นเมืองหลวง มีชื่อว่า ยโสธรปุระ ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้นยังไม่ได้มีขนาดใหญ่โตอะไรมากมายนัก แต่ต่อมาภายหลังพระองค์ทรงวางแผนที่จะขุดคูน้ำล้อมรอบพื้นที่ มีการขุดสระเพื่อทำเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเกษตร และกษัตริย์ในรุ่นหลังๆก็ได้ปฏิบัติตามแนวพระราชดำริ ทำให้ตัวเมืองขยายใหญ่มากขึ้น
สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดสังเกตุและเป็นที่ที่ทุกคนเข้าเยี่ยมชมจะต้องไปดูกันให้ได้ก็คือ ภาพใบหน้าที่เปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มที่ปรากฎอยู่บนอาคาร ทำให้ได้รับการขนานนามว่าเป็น "รอยยิ้มแห่งพระนคร"ทุกวันนี้ถึงแม้ว่าปราสาทวัดจะเหลือไว้แค่ซากปรักหักพัง แต่ก็ยังไว้ซึ่งมนคลัง และมนเสน่ห์ที่ชวนให้คิดถึงความเจริญรุ่งเรืองในครั้งอดีตของสถานที่แห่งนี้อยู่มิรู้ลืม

2011年6月21日星期二

กทฤษฎีการอพยพของคนไทย คนไทยมาจากไหน

ทฤษฎีว่าด้วยเรื่องแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยว่ามีอยู่ด้วยกัน 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเก่า และทฤษฎีใหม่
1. ทฤษฎีเก่า
นักประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยาสันนิษฐานว่าชนชาติไทยนั้น แต่เดิมมีภูมิลำเนาอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ของจีน แถบมณฑลกวางตุ้งปัจจุบันนี้ ก่อนคริสตศักราช หรือ 485 ปีก่อนพุทธศักราช ราชวงศ์โจวซึ่งเป็น จีนแท้ได้โจมตีราชวงศ์สางสำเร็จ ชนชาติไทยจึงได้อพยพลงมาตามลำน้ำแยงซีไปยังมณฑลเสฉวนและยูนนาน โดยมีเมือง สำคัญที่จารึกไว้ในจดหมายเหตุของจีน คือ เมืองเฉินตู และคุนมิง ในศตวรรษที่ 13 ชนชาติไทยจึงกระจัดกระจายไปในที่ ต่าง ๆ แถบแคว้นยูนนานของประเทศจีนปัจจุบัน
สำหรับแนวคิดเรื่องการถอยร่นลงมาจากเสฉวนจนถึงยูนนานนั้น ได้เป็นที่ยอมรับของ ดร.ขจร สุขพานิช นักประวัติ ศาสตร์ไทยซึ่งได้ใช้เวลาศึกษาแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยหลายปี ท่านได้เขียนหนังสือชื่อ "ถิ่นกำเนิดและแนวการอพยพ ของเผ่าไทย" คล้ายกับความคิดเห็นของ Wolfram Eberhard และยังได้เพิ่มเติมว่าก่อนอพยพเข้ามาที่อาณาจักรน่าน เจ้านั้น ชนชาติไทยเคยตั้งอาณาจักรที่มณฑลกวางตุ้งมาก่อนแล้ว
จากศตวรรษที่ 13-15 ชนชาติไทยสามารถรวมตัวกันเป็นอาณาจักรขึ้นมาได้ เรียกว่า อาณาจักรน่านเจ้า แปลว่า "เจ้า ทิศใต้" ซึ่งก็ได้สูญสิ้นชื่อไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 1796 เพราะจักรพรรดิจีนองค์แรกในราชวงศ์หยวน คือ พระเจ้ากุบไลข่าน ผู้นำชาติมองโกลได้ยกทัพมาตีน่านเจ้าแตกไป ชนชาติไทยจึงต้องอพยพลงมาในแหลมอินโดจีนในดินแดนที่ต่อมาได้ชื่อว่า อาณาจักรเชียงแสน หรือล้านนาไทย ต้องต่อสู้กับพวกชนชาติที่อยู่เดิม คือ พวกละว้า และพวกขอมดำ ขณะเดียวกันชนชาติ ไทยบางพวกก็อพยพลงมาอยู่ที่แคว้นสามเทศ หรือสยามเทศ ซึ่งต่อมาเป็นแคว้นสุโขทัย และขณะนั้นอยู่ภายใต้การ ปกครองของอาณาจักรเขมรลพบุรี เมื่อพวกไทยรวมตัวกันและมีพลังมากขึ้นก็รวมตัวกันตั้งเป็นแคว้นอิสระ มีเมืองสุโขทัย เป็นราชธานีเมื่อปี พ.ศ. 1781 George Caedes ชาวฝรั่งเศส ผู้สนับสนุนทฤษฎีเก่านี้ สรุปว่าชนชาติไทยนั้นอพยพจากเหนือลงใต้ โดยอาศัย แม่น้ำเป็นหลัก เป็นการอพยพอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่ออาณาจักรน่านเจ้าถูกมองโกลรุกราน คนไทยจำนวนมากได้อาศัย ลำน้ำ 2 สาย คือ ลำน้ำโขง แล้วมาตั้งหลักแหล่งที่อาณาจักรล้านช้าง (เวียงจันทน์และหลวงพระบาง) บ้าง ที่ล้านนา (เชียงใหม่ เชียงแสน) บ้าง และที่สุโขทัย ส่วนที่อพยพไปตามลำน้ำสาละวินนั้นได้ไปตั้งหลักแหล่งถึงแคว้นอัสสัมของ อินเดียและรัฐฉานของพม่าก็มี
2. ทฤษฎีใหม่
นักโบราณคดีเสนอข้อสรุปว่าแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยนั้นก็คือ บริเวณภาคอีสานของไทย และแถบจังหวัด กาญจนบุรีของไทยปัจจุบัน มิได้อพยพมาจากตอนใต้ของประเทศจีนอย่างทฤษฎีเก่าอ้างไว้ แต่ถ้าหากจะมีการอพยพจริงก็ คงจะเป็นการอพยพจากใต้ขึ้นเหนือ เช่น อพยพขึ้นไปอยู่แถบแคว้นสิบสองจุไทย และแคว้น ยูนนาน เพราะได้มีการพบ หลักฐานที่นักโบราณคดีขุดค้นหาซากโบราณที่บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี และที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี โดยการใช้ C14 ทดสอบ ทำให้ทราบอายุของโครงกระดูกที่กาญจนบุรี ว่ามีอายุเก่าแก่ถึง 5-6 พันปี
นายแพทย์สมศักดิ์ สุวรรณสมบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราช ทำการศึกษาความหนาแน่นของ กลุ่มเลือด ได้พบว่ากลุ่มเลือดของคนไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับคนภาคใต้ในชวา จึงเสนอความเห็นสนับสนุนทฤษฏีว่า ชนชาติไทยอพยพจากใต้ขึ้นเหนือ คือ อพยพจากเกาะชวาขึ้นมาอยู่ที่แผ่นดินใหญ่
เรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรน่านเจ้านั้นก็มีนักทฤษฎีใหม่ชื่อ Frederick Mote เขียนไว้ใน "ปัญหาก่อนประวัติศาสตร์" ว่าชนกลุ่มใหญ่ในอาณาจักรน่านเจ้าไม่ใช่ไทย แต่ไทยนั้นมีแหล่งกำเนิดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ต่อมาถูกขอมและ เขมรรุกรานจึงอพยพขึ้นไปทางเหนือ แต่แบ่งแยกออกเป็นหลายพวก เข้าไปในเวียดนามที่เกาะไหหลำและที่แคว้นยูนนาน
นอกจากนั้นแล้วนักประวัติศาสตร์จีน 2 คน คือ ตูยูตินและเชนลูฟาน (Tu Yu-tin และ Chen Lu-fan) เขียนบท ความเรื่อง "ชัยชนะของกุบไลข่านเหนือเมืองตาลีโกว (ตาลีฟู)" ได้ทำให้คนไทยจำนวนมากอพยพลงมาทางใต้หรือไม่ โดยศึกษาเอกสารของจีนในราชวงศ์หยวนและเหม็ง พบว่า เมื่อกุบไลข่านยกมาตีน่านเจ้านั้นได้ตกลงกันอย่างสันติวิธี มิได้มี การโจมตีอย่างรุนแรงจนทำให้ไทยต้องอพยพมาครั้งใหญ่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 1924 น่านเจ้าจึงสิ้นสุดลงเมื่อราชวงศ์เหม็ง ยึดอำนาจจากมองโกล ได้รวมน่านเจ้าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจีน ตอนนี้เองจึงได้มีการอพยพ ทั้งนี้ได้เสนอว่าคนไทยที่อยู่ น่านเจ้านั้นเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยใน 6 กลุ่ม ถิ่นกำเนิดของชาติไทยแต่เริ่มแรกจึงอยู่ที่ภาคเหนือของไทยปัจจุบันนี้ มิได้ อพยพมาจากจีนตอนใต้ และไทยในน่านเจ้าไม่เคยอพยพลงมาที่ประเทศไทยปัจจุบัน ดังนั้น ไทยในน่านเจ้าและ ไทย ปัจจุบันนี้จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน
สรุป
สำหรับทฤษฎีใหม่นั้นถูกโจมตีว่าหละหลวมจนเกินไป เพราะโครงกระดูกที่พบอาจมิใช่โครงกระดูกของคนไทยก็เป็น ไปได้ ส่วนกลุ่มเลือดของคนที่ตรวจนั้นก็อาจจะมิใช่คนไทยแท้ เพราะมีการผสมกันมานานหลายเผ่าพันธุ์ อย่างไรก็ตาม มีการยอมรับทฤษฎีเก่ากันอยู่ เพราะว่ามีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรแน่ชัดกว่า

และส่วนที่ไทยไปนุ่งผ้าคล้ายถกเขมรเข้า จะมาคิดตื้น ๆ ว่าเป็นไทยผสมขอมไม่ได้ เพราะถ้าคิดตื้นแบบนั้นปัจจุบันไทยคงต้องผสมฝรั่งแล้วล่ะสิ เพราะเห็นแต่งตามฝรั่งกันทั้งบ้านทั้งเมือง....

ที่มา:

1. มาจากเทือกเขาอัลไต นี่เก๋ากึ๊กมาก ปัจจุบันไม่เชื่อกันแล้ว เพราะมันไกลมากเกินไป คนไทยจะตายเสียก่อนถึงสยาม
2. มาจากตอนกลางของจีน นี่ก็เก่า เขาไม่ get กันอีกเพราะว่า เราเป็นคนเมืองร้อน แต่ตอนกลางของจีนเป็นเมืองหนาว คนเราไม่น่าจะเปลี่ยนง่าย และเราไม่มีวัฒนธรรมของชาวหนาวเท่าใดนัก มีแต่วัฒนธรรมเมืองร้อน ว่างั้น
3. มาจากตอนใต้ของจีน ok เป็นที่ยอมรับกัน เพราะมีหลักฐานตำนาน นิยาย และสายพันธุ์ที่ต่อเนื่องกัน ร้อนเหมือนกัน วัฒนธรรม ภาษาใกล้เคียง
4. มาจากตอนใต้ของไทย นี่คุณหมอทั้งหลายแหวกแนวออกไป เพราะไปตรวจเลือดแล้วบอกว่าเราไม่มีส่วนคล้ายจีน กลับคล้ายแขกอินโดชวาอะไรโน่น นี่ก็หาหลักฐานมาแย้งกันหน่อย ยังไม่ยุติหรอก
5. ไม่มาจากไหน คนไทยอยู่ที่นี่ โดดเด่นมาก เพราะพบโครงกระดูกและวัฒนธรรมเก่าแก่มากมาย เช่น บ้านเชียง ถ้ำผี แสดงว่าเราอยู่นี่มานานแสนนาน แต่ยังไม่ชี้ชัดได้ว่า โครงกระดูกเหล่านั้นมีชื่อสกุลเป็นไทยหรือเปล่า

นักวิชาการเขาคงเถียงกันต่อไป นักเรียนก็ต้องตอบ 5 แนวคิดนะไม่งั้นตก เราชาวบ้านก็เอามารวมกันเป็นแกงโฮะ คือรวมๆ กันนั่นแหละ คนไทยมาจากหลายที่หลายแห่งมาผสมสายพันธุ์กันจนกลายเป็นไทยหลายพรรคการเมืองนี่ไง เนาะ

2011年6月13日星期一

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในประเทศไทย





 
      แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในประเทศไทย


น้ำตกคีรีเพชร 
       เป็นน้ำตกชั้นเดียว อยู่ห่างหมู่บ้านสลักเพชร ผ่านสวนยางเป็นระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร
น้ำตกคลองหนึ่ง 
       เป็นน้ำตกขนาดเล็ก อยู่ลึกเข้าไปยังชุมชนสลักเพชร ใกล้น้ำตกคีรีเพชร


บ้านคลองบางเป้า
    เป็นหมู่บ้านประมงที่น่าสนใจ บ้านพักอาศัยปลูกโดยปักเสาลงในทะเล 
มีสะพานเชื่อมติดต่อถึงกันโดยตลอด ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพประมงดักหมึก มีบังกะโลที่พัก และแหล่งปะการังใต้น้ำ
บ้านสลักเพชร หรือบ้านโรงถ่าน 
     เป็นชุมชนใหญ่ที่สุดบนเกาะช้าง อยู่ทางทิศใต้ของเกาะช้าง รอบอ่าวสลักเพชรซึ่งเป็นอ่าวใหญ่ที่สุดเป็นท่าเทียบเรือหลายแห่ง มีบังกะโล และร้านอาหารเล็กๆ สลับกันไป
บ้านสลักคอก 
        อยู่ติดกับบ้านสลักเพชร  ลักษณะเป็นช่องแคบๆ  เข้าไปในตัวเกาะ
 ด้านติดทะเลเป็นช่องแคบๆภายในเป็นเวิ้งกว้าง ใช้เป็นที่หลบลมของเรือประมงได้เป็นอย่างดี  แต่ไม่มีหาดทรายสำหรับเล่นน้ำ เป็นที่ตั้งชุมชน มีหมู่บ้าน และเป็นหมู่บ้านใหญ่ อีกหมู่บ้านหนึ่ง  ที่มีอาชีพประมง นอกจากนี้  ยังมีการทำนากุ้ง บ้านสลักคอก มีท่าเทียบเรือ 1
แห่ง  สำหรับผู้สนใจ ที่จะศึกษาชีวิตชาวประมงบ้านสลักคอก  เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่ง  ที่น่าสนใจ  ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่  ของชาวเลแห่งเกาะช้าง มีวัดอยู่ 1 วัด และท่าเทียบเรือ 1 แห่ง
ท่าธารมะยม 
       ท่าธารมะยมเป็นท่าเรือเก่าแก่อยู่ห่างจากท่าเรือ แหลมงอบ เพียงนั่งเรือ 45 นาที เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานฯ มีบ้าน
พัก 2 หลัง สามารถกางเต็นท์บริเวณนี้ นอกจากจะใกล้ น้ำตกธารมะยมแล้วยังสามารถเล่นน้ำที่ชายหาดได้ ในฤดูผลไม้เดือนสิงหาคม และกันยายนของทุกปี ที่ท่าธารมะยมจะเป็นจุดที่ขนถ่ายผลไม้ ลงเรือไปส่งที่ฝั่ง จากท่าธารมะยม มีถนนข้ามไปได้
ทั้งทางด้านใต้ และด้านเหนือของเกาะ
ท่าด่านใหม่ 
      ท่าด่านใหม่อยู่ถัดจากท่าเรือธารมะยมไปทางเหนือมีเรือเมล์วิ่งมาที่นี่เช่นกัน ถ้านักท่องเที่ยวจะเดินทางมายังท่าเรือด่านใหม่ สามารถจะเดินทางมาได้โดยลงเรือโดยสารที่ท่าเรือแหลมงอบ  เรือมีมายังท่าด่านใหม่  มีวันละเที่ยวเดียวคือ 13.00 น.
 นั่งเรือเพียง 40 นาที ท่าด่านใหม่ เป็นท่าเรือเล็กๆ และเป็นย่านชุมชน ซึ่งหนาแน่นกว่าบ้านด่านเก่า แถมยังอุดมสมบูรณ์ ไปด้วยสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ฯลฯ วิถีชีวิตชาวบ้านส่วนใหญ่จะทำสวนผลไม้และประมงโดยเฉพาะ กระชังเลี้ยงปลาเก๋าทะเล จะมีให้เห็นตลอดแนวชาวฝั่ง ท่านี้อาจจะไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำเพราะเป็นหาดหิน


ด่านเก่า

        ท่าเรือด่านเก่า อยู่ถัดขึ้นไป จากท่าเรือด่านใหม่ ชายหาดไม่เหมาะ
จะลงเล่นน้ำ  แต่เหมาะสำหรับตกปลา เพราะเป็นหาดดิน ด้านหลังชุมชน
บ้านด่านเก่าจะมีแหล่งน้ำจืดของเกาะด่านเก่า มักจะเป็นจุดผ่านไปยังหาดอื่นๆ ต่อไป


อ่าวสับปะรด
       ท่าเรืออ่าวสับปะรด อยู่ถัดจากท่าด่านเก่าไปหนึ่งท่า เป็นท่าเรือเมล์ และเรือเฟอร์รี่ ที่มีจุดเริ่มต้นจากอ่าวธรรมชาติและแหลมงอบจังหวัดตราด เป็นจุดเริ่มต้น  ของการเดินทางสู่เกาะช้าง อ่าวสับปะรด  เป็นชายหาดหิน 
ไม่สามารถลงเล่นน้ำ ได้ และประการสำคัญ เป็นท่าเรือน้ำลึก  มีเรือเฟอร์รี่ เรือเมล์ และเรือประมง เข้าเทียบท่าอยู่เป็นประจำลักษณะคล้ายท่าเรือหน้าทอน ของเกาะสมุย แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก บริเวณท่าเรือ มีรถโดยสาร ลักษณะเป็นรถสองแถว จอดรับส่งนักท่องเที่ยวเพื่อนำไปส่งยังรีสอร์ท และที่พักต่างๆ โดยจุดเริ่มต้น ที่ท่าเรือ อ่าวสับปะรด ไปสิ้นสุดยังหาดไก่แบ้ ระยะทางประมาณ  17  กิโลเมตร โดยนักท่องเที่ยวจะลงตามรีสอร์ทใดก็ได้ โดยแจ้งให้คนขับทราบ ชื่อรีสอร์ทที่จะลง หรือจะตกลงเช่าเหมาคันให้พาเที่ยวรอบๆ เกาะช้างก็ได้ บริเวณท่าเรืออ่าวสับปะรด มีร้านอาหารจำหน่ายในราคาถูก นักท่องเที่ยวสามารถหารับประทานได้
อ่าวคลองสน
       อยู่ทางเหนือของเกาะช้าง ห่างจากที่ทำการ 11 กิโลเมตร เป็นอ่าวขนาดใหญ่มีหาดทรายขาวละเอียดทอดขนาดไปกับป่าสนเขียวครึ้ม นักท่องเที่ยวเดินทางไปถึงบริเวณนี้ได้โดยทางเรือเมล์และเรือเฟอร์รี่ โดยลงที่อ่าวสับปะรด และนั่งรถสองแถวต่อ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ อ่าวคลองสนอยู่ทางตอนเหนือสุดของเกาะ  ที่นี่ยังคงรูปแบบของชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านที่ทำสวนมะพร้าว อ่าวคลองสนมีชายหาดอยู่ถึงสองด้าน เป็นอ่าวที่มีปะการัง และหากน้ำลง  จะปรากฏหาดทรายขาว สะอาด กว้างยาว และมีความปลอดภัย ในการเล่นน้ำสูง เพราะหาดจะค่อยๆไล่ระดับความลึกข้อเด่นของคลองสนคือชายหาดกว้างสวยงาม ปลอดภัย แก่การเล่นน้ำ มีความเป็นส่วนตัว ผู้คนไม่พลุกพล่าน และตัวหาดยาวถึง 400 เมตร


หาดทรายขาว
        อยู่ด้านหลังเกาะช้าง เลยอ่าวคลองสนมา หาดทรายขาว เป็นชายหาดยาว ขาวสะอาด จึงได้ชื่อว่า หาดทรายขาว ที่พักบนหาดทรายขาวส่วนใหญ่ จะเป็นที่พักราคาประหยัด หาดทรายขาว ยังมีถนนราดยางอย่างดีขนานยาวไปกับชายหาดเชื่อมถึงหาดอื่นๆ ยามค่ำคืน ปรากฏสีแสงของร้านอาหาร ร้านเหล้า ผับเล็กๆ ชายหาด เล่นน้ำได้ตลอดแนว แต่ควรระมัดระวัง  ในการเล่นน้ำ อย่าออกไปห่างจากชายหาดมากนัก เพราะหาดจะค่อยๆไล่ระดับความลึกตื้นลงไปไม่เท่ากันควรสวมชูชีพเมื่อต้องการออกไปเล่นน้ำ  ไกลจากชายหาด  นอกจากการเล่นน้ำแล้ว นักท่องเที่ยวสามารถเช่าจักรยาน หรือมอเตอร์ไซค์ ขี่เล่นได้ หาดทรายขาวเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามมากแห่งหนึ่งบนเกาะช้าง


หาดคลองพร้าว - 
        หาดคลองพร้าวอยู่ถัดจากหาดทรายขาวมา และห่างจากท่าเรืออ่าวสับปะรด มาประมาณ 12 กิโลเมตร   ซึ่งเป็นหาดที่
ยาวมาก ไปจนติดหาดไก่แบ้ ข้อเด่นของหาดนี้เป็นหาดที่ มีความลาดมากเล่นน้ำได้ดีสามารถทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาริมหาด
ได้ นอกจากนั้นทางตอนเหนือสุดของเกาะ เป็นที่ตั้งของแหลมไชยเชษฐ์ ซึ่งเป็นแหลมหินแปลกตา เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตก
ที่สวยงามมากหาดคลองพร้าว เล่นน้ำได้ แต่แหลมหินไชยเชษฐ์ ไม่เหมาะลงเล่นน้ำ เพราะหินเยอะ แต่เหมาะกับการตกปลา
นอก มันใน ซึ่งอยู่ไม่ไกล จากหากไก่แบ้อีกด้วย


หาดทรายยาว 


         หาดทรายยาวอยู่เลยสลักเพชรไป เป็นหาดทรายที่ยาวสมชื่อ เวลาน้ำลงแทบจะตั้งทีมฟุตบอลเล่นกันได้ เป็นชายหาด
ที่มีความปลอดภัยในการเล่นน้ำ ด้านขวามือ ของหาดตรงบริเวณภูเขา เป็นแหล่งปะการังน้ำตื้นที่สวยงาม การที่จะไปเที่ยว
หาดทรายยาวได้ ต้องนั่งเรือไปเพียงอย่างเดียว เพราะเหตุว่า ตัวหาดนี้ตั้งอยู่ในที่ๆ พื้นที่โดยรอบเป็นสวนมะพร้าวและป่า 


เกาะหมาก
         เป็นเกาะขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ระหว่างเกาะช้างกับเกาะกูด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนมะพร้าว มีถนนลูกรังบนเกาะ มีหาดทราย และอ่าวสวยงามหลายแห่ง สามารถหาบ้านพักและบังกะโลบนเกาะได้ ช่วงที่เหมาะสำหรับท่องเที่ยว คือ ช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึงปลายเดือนเมษายน หมู่เกาะหมากประกอบไปด้วย 9 เกาะคือ เกาะหมาก เกาะระยั้งใน เกาะระยั้งนอก เกาะผี เกาะขาม เกาะกระดาษ เกาะนก เกาะนอก และเกาะใน
กิจกรรมหลักของนักท่องเที่ยวบนเกาะช้าง เช่น การเดินป่า เล่นน้ำตก ตกปลา พายเรือคยัต ดำน้ำดูปะการัง ขี่จักรยาน/มอเตอร์ไซด์ ชมหิ่งห้อย และท่องเที่ยวเชิงเกษตร (ชมสวน) เป็นต้น


เกาะอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
         นอกจากนี้ หมู่เกาะหมากยังมีเกาะบริวารอื่น ๆ อีก แต่ไม่มีจุดเด่นน่าเที่ยว ทั้งหมดจะเป็นหินล้อมเกาะและเป็นเกาะขนาดเล็ก เช่น เกาะนก เกาะนอก เกาะใน และเกาะผี เกาะช้างน้อย และแหลมช้างน้อย อยู่ทางด้านเหนือของเกาะช้าง ท้องน้ำระหว่างแหลมช้างน้อยกับเกาะช้างน้อยมีแนวปะการังด้วย


เกาะมันนอก-มันใน
       เป็นเกาะขนาดเล็ก อยู่ตรงข้ามหาดไก่แบ้ เมื่อน้ำลดจะปรากฏหาดขึ้นรอบเกาะ ท้องน้ำบริเวณเกาะมันนอก-เกาะมัน

ในค่อนข้างตื้นและมีสาหร่ายสีทองขึ้นเป็นจำนวนมาก

เกาะคลุ้ม
        เป็นเกาะประวัติศาสตร์จากยุทธนาวีที่เกาะช้าง เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่เหมาะสำหรับการตกปลา และชมทัศนียภาพ

ของลานหิน คือ หินลูกบาตและหินลาดหลังคุ้ม


เกาะหวาย
       เป็นเกาะขนาดใหญ่เกาะหนึ่ง อยู่ใกล้กับเกาะเหลายา ใช้เวลาเดินทางจากแหลมงอบประมาณ   2.30 ชั่วโมง หาด

ส่วนใหญ่เป็นหิน ประกอบด้วยอ่าวที่มีแนวชายหาดสวยงาม และมีแนวปะการังขนาดใหญ่อยู่ด้านหน้าเกาะ  มีสะพานท่า
เทียบเรือให้นักท่องเที่ยวขึ้นลง มีบ้านพักและบังกะโลให้เช่าหลายแห่ง

เกาะพร้าว หรือเกาะทรายขาว
       อยู่ทางทิศใต้ หน้าอ่าวสลักเพชร ใช้เวลาเดินทางจากท่าเรือแหลมงอบประมาณ 2 ชั่วโมง เป็นเกาะที่มีหาดทราย

สะอาดและร่มรื่นด้วยต้นมะพร้าว

หมู่เกาะกระ
      เป็นเกาะขนาดเล็ก อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะหมาก บนเกาะไม่มีที่ราบพอที่จะอาศัยอยู่ได้ แต่มีสัมปทานการทำ

รังนกนางแอ่น ไข่จาระเม็ด และมูลค้างคาว มีโขดหินใต้น้ำ และปะการังน้ำลึกที่สวยงาม

หมู่เกาะรัง 

      เป็นเกาะขนาดเล็ก อยู่ห่างจากเกาะหมากไปทางทิศตะวันตกประมาณ 6 กิโลเมตร บนเกาะไม่มีที่ราบพอที่จะอาศัย
อยู่ได้ มีเฉพาะที่ราบหน้าหาดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น บริเวณรอบ ๆ หมู่เกาะรังเหมาะแก่การดำน้ำดูปะการัง

เกาะขาม
      เป็นเกาะขนาดเล็ก อยู่ใกล้กับเกาะหมาก ใช้เวลาในการเดินทาง   2 ชั่วโมง 30 นาที    สิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยว

เข้ามาเยือนเกาะขาม คือ สภาพธรรมชาติที่สวยงาม บรรยากาศที่เงียบสงบร่มรื่น น้ำทะเลและหาดทรายใสสะอาด นอก
จากนี้ด้านหลังของเกาะยังมีแนวปะการังที่สวยงามและนักท่องเที่ยวยังสามารถจะเช่าเรือข้ามไปเกาะหรือชมทัศนียภาพ
บริเวณเกาะหมากได้


เกาะกระดาด
    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะหมาก แต่เดิมมีต้นกระดาดขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากจึงได้ชื่อว่า "เกาะกระดาด"

 นับเป็นเกาะเดียวในประเทศไทยที่มีการออกโฉนดถูกต้องตามกฎหมาย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากฝรั่งเศสได้เข้ามา
ล่าอาณานิคมในแถบเอเชียอาคเนย์ และพยายามยึดครองดินแดนของไทย เกาะกระดาดก็เป็นที่หมายหนึ่งของฝรั่งเศสด้วย รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกโฉนดที่ดินของเกาะขึ้น มีหาดทรายยาว ขาวสะอาด สามารถเดินถึงกัน
ได้รอบเกาะ และยังมีแนวปะการังอีกด้วย เป็นที่ตั้งของเกาะกระดาดรีสอร์ท การเดินทางจากแหลมงอบใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง
ปัจจุบัน มีนักธุรกิจชาวต่างประเทศให้ความสนใจที่จะเข้ามาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะกระดาด โดยอยู่ในระหว่างเสนอ

แผนงานให้รัฐบาลพิจารณา


เกาะกูด
      เกาะกูด เป็นเกาะสุดท้ายในน่านน้ำทะเลตราด เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทยอุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และความงด

งามของหาดทราย สายน้ำ ลำธาร น้ำตก และแนวปะการังใต้ท้องน้ำ มีสถานที่น่าสนใจ เช่น

น้ำตกคลองเจ้า หรือน้ำตกธารสนุก
            เป็นน้ำตกที่ขึ้นชื่อของเกาะกูด มีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีทั้งหมด

 3 ชั้น ชั้นบนมีลักษณะเป็นลำธาร ส่วนชั้นล่างเป็นธารจากน้ำตกขนาด
ใหญ่    เหมาะแก่การเล่นน้ำเป็นอย่างมาก น้ำตกแห่งนี้ถือว่าเป็นน้ำตกประวัติศาสตร์ คือ  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เคยเสด็จ
ประพาสเมื่อพ.ศ. 2454 ทรงพระราชทานนามเพื่อเป็นที่ระลึกถึงองเชียง
สือว่า "น้ำตกอนัมก๊ก"
-

 อ่าวใหญ่
        อยู่ทางด้านตะวันออกของเกาะกูด ใกล้กับแหลมอ่าวใหญ่ เป็นทำเลที่ตั้งของชุมชนบ้านเรือน ชาวประมงบนเกาะกูด บริเวณนี้เป็นแหล่งขนส่งและจำหน่ายสินค้าทางการประมง อาทิ กุ้ง หอย ปู ปลา และของฝากจากทะเลเช่นกุ้งแห้งปลาเค็ม ปลาหมึกแห้ง เป็นแหล่งผลิตน้ำปลาชั้นดีที่ผลิตมาจากปลาหัวอ่อนแท้ และยังเป็นที่ตั้งของศาลหลวงพ่อดำ อันเป็นที่เคารพ

บูชาของชาวประมง และชาวบ้านบนเกาะกูด

อ่าวจาก
        อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด เป็นหาดทรายขาวยาวประมาณ 500 เมตร สามารถลงเล่นน้ำได้ บริเวณด้านบนของชายหาดอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสวนมะพร้าว เป็นจุดที่สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นได้สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งบนเกาะกูด หาด

อ่าวจากเป็นหาดส่วนตัว การกางเต็นท์หรือแค้มปิ้งควรขออนุญาตจากผู้ดูแลสถานที่เสียก่อน

อ่าวยายเกิด
       ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของเกาะกูด อยู่ใกล้กับอ่าวกล้วยและแหลมตาตุ้ย เป็นหาดทรายขาว มีลักษณะโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม ความยาวของหาดประมาณ 800 เมตร สามารถลงเล่นน้ำได้ ด้านหลังของชายหาดติดเนินเขา บรรยากาศโดยรอบเงียบสงบเหมาะสำหรับการพักผ่อนของผู้ที่รักธรรมชาติอย่างแท้จริง เป็นที่ตั้งของเกาะกูดรีสอร์ท รีสอร์ทแห่งแรกบนเกาะกูด มีเส้นทางเดินเท้าตัดผ่านสวนยางไปยังอ่าวกล้วย ใช้เวลาประมาณ 15 นาที เพื่อชมพระอาทิตย์ขึ้น มีแหล่งดำน้ำชมปะการังที่หัวแหลมอ่าวยายเกิด การเดินทางควรติดต่อไปยังเกาะกูดรีสอร์ท จะได้รับการบริการที่สะดวกสบายมากกว่าเดินทางมาด้วยตนเอง


หาดคลองยายกี๋
        อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด มีชายหาดขาว ยาวสามารถลงเล่นน้ำได้ อยู่ตรงข้ามกับเกาะแรด ภายในลำคลองยายกี๋มีเส้นทางเดินเท้าเข้าสู่น้ำตกคลองยายกี๋ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับน้ำตกคลองเจ้า แต่ความสวยงามน้อยกว่า สามารถชมพระอาทิตย์ตกได้ การกางเต็นท์และแค้มปิ้งควรได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลชายหาดเสียก่อน


หาดคลองหิน
        อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ใกล้กับแหลมคลองหินและอ่าวพร้าว เป็นหาดทรายยาวประมาณ 300 เมตร น้ำใสสะอาด สามารถลงเล่นน้ำได้ ที่บริเวณแหลมคลองหินเป็นจุดดำน้ำชมปะการังที่สวยงามแห่งหนึ่ง


หาดอ่าวพร้าว

         อยู่ทางด้านตะวันตก ใกล้กับแหลมเทียน ซึ่งเป็นอ่าวสุดท้ายใต้สุดของเกาะกูด เป็นชายหาดขาว โค้งเว้า ยาวประมาณ 800 เมตร มีน้ำทะเลที่ใสสะอาด สามารถลงเล่นน้ำได้ บรรยากาศร่มรื่น เหมาะสำหรับการแค้มปิ้งพักแรม และเป็นจุดที่สามารถชมพระอาทิตย์ตกได้สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งบนเกาะกูด ไม่ไกลจากบริเวณชายหาด คือ วัดอ่าวพร้าว ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน รูปปั้นของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ บิดาแห่งกองทัพเรือไทย และวิหารหลวงพ่อดำ ที่เคารพบูชาของชาวเกาะกูด

เกาะแรด
           อยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะกูด ตรงข้ามกับคลองเจ๊กกี่ เป็นเกาะขนาดเล็ก มีพื้นที่เพียง 2.03 ตร.กม. มีชายหาดความยาวไม่กี่เมตร สามารถลงเล่นน้ำได้ บริเวณโดยรอบของเกาะแรดมีแนวปะการัง สวยงามมาก มีช่องแคบห่างจากเกาะกูดเพียง 400 เมตร เวลาน้ำลงสามารถว่ายน้ำข้ามไปมาระหว่างเกาะแรดกับเกาะกูดได้ บนเกาะแรดมีกระชังเลี้ยงปลาทะเลชนิดต่าง ๆ สามารถแวะเข้าไปชมได้ มีจุดชมพระอาทิตย์ตกสวยงามมา

ประวัคิศาสตร์คืออะไร

ประวัติศาสตร์คืออะไร

คำว่า “ประวัติศาสตร์” ใช้กันใน 2 ลักษณะคือ
  • ประวัติศาสตร์ หมายถึง เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำ หรือสร้างแนวความคิดไว้ทั้งหมด รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากเจตจำนงของมนุษย์ ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญหรือธรรมชาติ  ที่มีผลต่อมนุษยชาติ
  • ประวัติศาสตร์ ได้แก่ เหตุการณ์ในอดีตที่นักประวัติศาสตร์ได้สืบสวนค้นคว้าแสวงหาหลักฐานมารวบรวมแลเรียบเรียงขึ้น เนื่องจากเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตมีขอบเขตกว้างขวาง และมีความสำคัญแตกต่างมากน้อยลดหลั่กันไป นักวิทยาศาสตร์จึงหยิบยกขึ้นมาศึกษาเฉพาะแต่สิ่งที่ตนเห็นว่ามีความหมายและมีความสำคัญ

2011年6月7日星期二

ข้อมูลท่องเที่ยวเซี่ยงไฮ้

เซี่ยงไฮ้( Shanghai)

ช่างไห่ หรือ เซี่ยงไฮ้ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซีเกียง ทิศเหนือ ติดต่อกับ มณฑลเจียงซู ประเทศจีน ทิศใต้ ติดต่อกับ มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ทะเลจีนตะวันออก ทิศตะวันตก ติดต่อกับ มณฑลเจียงซู และมณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน อยู่ในเขตมรสุมร้อนเอเชียเหนือ แบ่งเป็น 4 ฤดูชัดเจนและมีปริมาณฝนและแสงแดดที่เพียงพอ ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงระยะเวลาค่อนข้างสั้น ฤดูหนาวและร้อนค่อนข้างยาวนาน เป็นเขตการปกครองระดับเขตการปกครองพิเศษแบบเทศบาลนคร ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับมณฑล มีท่าเรือที่มีจำนวนเรือคับคั่งที่สุดในโลกตามมาด้วยสิงคโปร์ และร็อตเตอร์ดัมเซี่ยงไฮ้ในอดีตเป็นแค่หมู่บ้านชาวประมง แต่ในปัจจุบันเซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมากที่สุดในจีน เต็มไปด้วยร้านค้า สิ่งก่อสร้าง ถนนเต็มไปด้วยรถ จักรยานและ ผู้คน สิ่งที่จะเห็นเยอะมากในเมืองนี้ หรือจะเป็นสัญลักษณ์ของเมืองนี้เห็นจะเป็นต้นเมเปิลที่มีอายุเกือบร้อยปี ซึ่งปลูกโดยในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองเซี่ยงไฮ้
หอไข่มุก (Oriental Pearl Tower)
หอสูง หนึ่งในสัญลักษณ์เมืองเซี่ยงไฮ้ เป็นหอส่งสถานีโทรทัศน์ที่สูงสุดที่เอเชีย และ สูงที่สุดเป็นอันดับสามของโลก ด้วยความสูงถึง 468 เมตร มีความโดดเด่นในการออกแบบ เป็นไข่มุก ถึง 11 ลูก และ เสา 3 เสา ขนาด มหึมา ที่ค้ำหอสูงเสียดฟ้า นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นสู่หอสูงเสียดฟ้าได้ด้วยลิฟท์หกตัว เพื่อชมความยิ่งใหญ่ของนครเซี่ยงไฮ้ ในระดับความสูงที่ 267 เมตร มีภัตตาคารหมุนหรูในคุณและคู่รัก ได้ทานมื้อค่ำที่แสนวิเศษ
หอไข่มูก

แม่น้ำหวงผู่(Huangpu river)
เป็นเส้นทางเดินเรือหลักของเมืองเซี่ยงไฮ้ คดเคี้ยว ไหลจากปากแม่น้ำแยงซี ในเมืองอู๋ซ่ง ไปยังทะเลจีนตะวันออก ยาว 71 ไมล์ และ กว้าง 0.25 ไมล์ และลึก 30 ฟุต โดยเฉลี่ย ระยะทางจากทางเหนือสู่ตัวเมืองเซี่ยงไฮ้ รวม 18 ไมล์ ซึ่งแบ่งตัวเมืองเซี่ยงไฮ้เป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งตะวันออก และ ตะวันตก ด้วยลักษณะภูมิประเทศดั่งกล่าวทำให้กิจกรรมการล่องเรือ เป็นสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้เพลิดเพลินกับกิจกรรมดั่งกล่าวทั้งในเวลากลางวันและ กลางคืน นอกจากนนี้ ตึกสูงระฟ้า ทั้งหอไข่มุก หอจินเหมา รวมทั้งตึกอื่นๆ ที่ มีการออกแบบคล้ายกันแม้จะสร้างคนละช่วงเวลา

แม่น้ำหวงผู่



บันด์ (The Bund)
คือย่านเก่าแก่ในตัวเมืองเซี่ยงไฮ้ เราอาจเรียกได้ว่า เป็น ย่านถนนซ่งชาน อยู่ริมแม่น้ำหวงผู่ฝั่งตะวันตก ตรงกันข้ามกับหอไข่มุกและหอจินเหมา เป็นสัญลักษณ์เมืองเซี่ยงไฮ้อายุนานถึง 100 ปี บริเวณ ที่เรียกว่าบันด์นี้เริ่มจากสะพานไป่ตู ซึ่งเป็นจุดเชื่อมระหว่างแม่น้ำหวงผู่ และ คลองซูโจว ไปยังถนนจินหลิงตะวันออก จุดที่มีชื่อเสียงของย่านบันด์นั้นอยู่ทางฝั่งตะวันตกซึ่งบริเวณโดยรอบเต็มไปด้วยตึกราม อาคารที่มีลักษณะโดดเด่นของศิลปะแบบกอธิคบาโรค โรมาเนสก์ คลาสสิก และ เรอเนอซองส์ อดีตกว่าร้อยปีย่านบันด์เป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของเซี่ยงไฮ้ สถานทูตส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศ ธนาคาร ธุรกิจ และสำนักหนังสือพิมพ์ มักจะตั้งในบริเวณนี้ ซึ่งเป็นเหตุผลว่า แม้สถานที่เหล่าจะไม่ได้สร้างใชช่วงเวลาเดียวกันแต่กลับมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน
ทิวทัศน์ยามค่ำคินรอบๆบันค์
ย่านช้อปปิ้งนานกิง (Nanjing shopping area)
ย่านช้อปปิ้งนานกิง ครอบคลุมพื้นที่จากทางด้านตะวันออกจรดด้านตะวันตกของ ย่านบันด์ ถนนสายนี้ยาวถึง 3-4 ไมล์ นักท่องเทียวสามารถเลือกซื้อสินค้า รวมถึง แฟชั่นชั้นนำได้บนถนนสายนี้ ภายหลังสงครามฝิ่น (ค.ศ.1839-1842) เซี่ยงไฮ้ได้ถูกอังกฤษใช้เป็นท่าเรือนานาชาติโดยถนนนานกิงเป็นที่แรกที่เป็นที่รองรับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากซึ่งต่อมาทำให้ถนนนานกิงกลายเป็นถนนช้อปปิ้งของเซี่ยงไฮ้นับแต่นั้นจวบจนปัจจุบัน

ย่านช้อปปิ้งนานกิง



วัดพระหยกขาว(White jade buddha temple)
ฝั่งตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้ เป็นเขตเมืองที่ทันสมัยที่สุด มีวัดน่าเคารพและมีพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหยก ถูกสร้างขึ้นในปี 1882 เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ 2 องค์ ซึ่งอัญเชิญมาจากพม่าโดยพระภิกษุชื่อ ฮุยเก็น วัดแห่งนี้ถูกทำลายในช่วงราชวงศ์ชิงถูกโค่นล้มบัลลังก์ แต่โชคดีที่พระพุทธรูปหยกขาวไม่ได้ถูกทำลาย จึงอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดที่สร้างขึ้นใหม่ในปี 1928 และให้ชื่อวัดแห่งนี้ว่าวัดพระหยกขาว พระพุทธรูป 2 องค์ อันล้ำค่า นี้ไม่เพียงแต่เป็นพระพุทธรูปหายากทางด้านวัฒนธรรมหากแต่ยังเป็นงานช่างศิลป์ที่มีค่ายิ่ง พระพุทธรูปปางนั่งทั้ง 2 องค์นี้ สลักจากหยกทั้งแท่ง แสงสว่างและ แสงสะท้อนของหยกขาวนั้นทำให้องค์พระพุทธรูปมีความงดงามสว่างเจิดจ้ายิ่งขึ้น องค์พระพุทธรูปปางนั่งมีความสูง 190 เซนติเมตร และ หุ้มด้วยเพชรพลอย หินมโนรา และ มรกต แสดงถึงการถือศีลอดอาหารและตรัสรู้แจ้งพระพุทธเจ้า ส่วนพระพุทธรูปปางไสยาสน์

วัดพระหยกขาว

 
พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้(Shanghai museum of History)
ตั้งอยู่ส่วนกลางของจัตุรัสประชาชน เป็นพิพิธัณฑ์ของศิลปะจีนโบราณ รูปแบบของพิพิธภัณฑ์และ การนำเสนอ บริเวณโดยรอบแก่ผู้เข้าชม คือการสาธิต ด้วยวัตถุโบราณ อันสะท้อนถึงความภาปราดเปรื่องและปรัชญา ภายนอกออกแบบเป็นโดมทรงกลมและมีฐานเป็นทรงสี่เหลี่ยมอันเป็นสัญลักษณ์ของสวรรค์และพื้นโลกตามหลักแนวคิดโบราณ พิพิธภัณฑ์นี้แบ่งออกเป็น 11 ห้องแสดงศิลปะ และ 3 ห้องจัดนิทรรศการ ในแต่ะละห้องศิลปะจะจัดแสดงศิลปะหลักๆของจีน ได้แก่ เครื่องทองเหลืองโบราณ เครื่องเซรามิกโบราณ งานวาด งานเขียนลายมือ งานแกะสลักโบราณ เครื่องหยกโบราณ เหรียญ เครื่องแต่งบ้านที่ใช้ในสมัยราชวงศ์หมิง และ ชิง ตราประทับ รวมถึงศิลปะโบราณของชนชาติต่างๆที่อาศัยในจีน เครื่องทองเหลืองของราชวงศ์ชางและโจว ทำให้ผู้เขาชมรับรู้ถึงอารยธรรมในสมัยนั้น เครื่องทองเหลืองอีกกว่า 400 ชิ้น นั้นมีอายุครอบคลุมยุคทองสำริดของจีน เครื่องเซรามิกโบราณ เป็นของมีค่าพิเศษของพิพิธภัณฑ์ ท่ามกลางงานศิลปะ กว่า500 ชิ้น จากหลากหลายราชวงศ์อาทิ เช่น ภาพวาดและ เครื่องปั้นดินเผา จากยุค หลังยุคหิน
พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้